กระดานดำ     เข้าสู่ระบบ  
 
 
ประวัติความเป็นมาและสภาพปัจจุบัน

     สาขาวิชาวิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดรับนักศึกษาครั้งแรกตั้งแต่ปีการศึกษา พ.ศ. 2551 ซึ่งเป็นอีกหลักสูตรภายในคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เป็นศาสตร์ที่ผสมผสานความรู้ด้านวิศวกรรมคือ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์และวิศวกรรมโทรคมนาคมเข้าด้วยกัน โดยมุ่งผลิตบัณฑิตด้านวิศวกรรมการสื่อสาร วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ให้มีความรู้ ความสามารถ ในการสร้างระบบเครือข่ายการสื่อสารระหว่างองค์กรให้สามารถสื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

     ในปีการศึกษา 2555 มีการปรับปรุงหลักสูตรและดำเนินการสอนครั้งแรกในปีการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2555 และในปีการศึกษา 2560 มีการปรับปรุงหลักสูตรและดำเนินการสอนครั้งแรกในปีการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โดยปรับปรุงจากหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555

ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

ปรัชญา
     บัณฑิตมีความรู้ ความสามารถทางทฤษฎี มีทักษะเชิงปฏิบัติการ และเป็นผู้ที่สามารถสร้าง หรือนำการสื่อสารของสารสนเทศมาพัฒนา นำไปประยุกต์ใช้เพื่อสร้างงานด้านอุตสาหกรรมที่เหมาะสมกับสังคม มีความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม มีคุณธรรมและจริยธรรมในการดำรงชีพ

ความสำคัญ
     1. สามารถตอบสนองความต้องการต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมและตอบสนองต่อการดำรงชีวิตของประชาชนโดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่ทำให้ประเทศ ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจจากภาคอุตสาหกรรมไปเป็นภาคบริการและการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
     2. การพัฒนาบุคลากรทางวิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสารที่มีคุณภาพ ในด้านเทคโนโลยีเป็นโอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม เช่น การส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ การพัฒนาสุขภาพและศักยภาพในการทำงานของผู้สูงอายุ เป็นต้น ในขณะเดียวกันก็อาจเป็นภัยคุกคาม เช่น การจารกรรมข้อมูลธุรกิจหรือข้อมูลส่วนบุคคล การลื่นไหลของวัฒนธรรมอย่างไร้พรมแดน การใช้สื่อเผยแพร่ข้อมูลเท็จ เป็นต้น
     3. สามารถตอบสนองการเปลี่ยนแปลงสภาวะทางเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงสภาวะด้านสังคม การเปลี่ยนแปลงสภาวะด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยด้านหนึ่งประเทศไทยจะมีโอกาสมากขึ้นในการสร้างสินค้าหรือพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และการให้บริการด้านการบริหารสารสนเทศ ให้การสื่อสารเป็นไปอย่างถูกต้องและรวดเร็ว สามารถนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกับ ภูมิปัญญาท้องถิ่นและแพทย์พื้นบ้าน สถานที่ท่องเที่ยวและการพักผ่อน
     4. สามารถส่งเสริมการใช้สารสนเทศและการสื่อสารเป็นกลไกด้านหนึ่งของการขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาด้านต่าง ๆ ด้วยความรอบคอบ สอดคล้องกับวิถีชีวิตของสังคมไทย รวมทั้งการเสริมสร้างศีลธรรมและสำนึกใน คุณธรรม จริยธรรมในการปฏิบัติหน้าที่และดำเนินชีวิตด้วยความเพียร

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
     1. ผลิตบัณฑิตให้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ มีคุณธรรม จริยธรรม และดำเนินชีวิตที่เหมาะสมในสังคม
     2. ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ความสามารถในเชิงวิชาการ ประสบการณ์และความเข้าใจในด้านสารสนเทศและการสื่อสาร
     3. ผลิตบัณฑิตให้มีความสามารถในการเลือกใช้และประยุกต์เทคโนโลยีด้านสารสนเทศและการสื่อสารได้อย่างเหมาะสม
     4. ผลิตบัณฑิตให้มีทักษะในการศึกษาค้นคว้าวิจัยทางด้านสารสนเทศ และการสื่อสาร เพื่อการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
     1. วิศวกรดูแลระบบด้านการสื่อสาร
     2. วิศวกรดูแลระบบโครงข่ายระบบสารสนเทศ
     3. นักพัฒนาโปรแกรม
     4. นักพัฒนาเว็บไซต์

ภายนอก
จังหวัดลพบุรี
สำนักงานจัดหางานจังหวัดลพบุรี
สำนักงาน ก.พ.
กรมทรัพย์สินทางปัญญา
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
กองวิจัยตลาดแรงงาน
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
ระบบที่เกี่ยวข้อง
ระบบบริการการศึกษา
ปฏิทินการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
ระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์
CHE QA ONLINE
รายงานด้านบริหารงบประมาณ และการเงิน
ภายใน
มรภ.เทพสตรี
คณะครุศาสตร์
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คณะวิทยาการจัดการ
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สืบค้นข้อมูลหนังสือ
สืบค้น OPAC
สมัครสมาชิกห้องสมุด
การจัดการข้อมูลส่วนบุคคล
คู่มือการสืบค้น OPAC
จัดทำโดย คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
Free Counter
Free Counter
ICE